กระบวนการทำ เด็กหลอดแก้ว
การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว (Pre-implantation Genetic Testing)
การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT, Pre-implantation Genetic Testing)
เทคโนโลยีในการรักษาผู้มีบุตรยาก (IVF) ในปัจจุบัน สามารถที่จะนำเซลล์จากตัวอ่อน มาเข้าสู่กระบวนการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์
เทคโนโลยีที่ทาง EKI-IVF ใช้คือ PGT-A (Pre-implantation Genetic Testing for Aneuploidy) หรือ ที่แต่ก่อนเรียกว่า PGS (Pre-implantation Genetic Screening)
- เป็นการตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมในระดับโครโมโซม โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า NGS (Next Generation Sequencing) ซึ่งสามารถวิเคราะห์และอ่านรหัสพันธุกรรม DNA ในโครโมโซมได้ครบทั้ง 23 คู่ (ครบทั้ง 24 ชนิดโครโมโซม) ด้วยความแม่นยำสูงกว่า 99.9%
- โดยทั่วไปมนุษย์เราจะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ ประกอบด้วยคู่ที่ 1-22 เป็นโครโมโซมประเภท Autosome ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆของร่างกาย และคู่ที่ 23 จะเป็น Sex Chromosome หรือตัวกำหนดเพศ, ซึ่งการตรวจ PGT-A ด้วยเทคนิค NGS จะเป็นการตรวจสอบความครบถ้วนและสมบูรณ์ของโครโมโซมทุกตัวอย่างละเอียด เพื่อตรวจหาและคัดกรองตัวที่ผิดปกติออกไป แล้วนำตัวที่ไม่พบความผิดปกติมาย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำ IVF
PGT-A ด้วยเทคนิค NGS เหมาะกับใครบ้าง
- คู่สมรสที่ประสบภาวะมีบุตรยาก
- คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี
- คู่สมรสที่เคยมีประวัติแท้งบุตรหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
- คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการทำ IVF มามากกว่า 2 ครั้ง
- คู่สมรสที่คนในครอบครัวหรือญาติของทั้งฝ่ายชายและหญิง รวมถึงเจ้าตัว มีประวัติที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

ข้อจำกัดของ การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT)
กระบวนการในการตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน จะใช้ได้กับ “การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธีการ ICSI (IVF/ICSI)” ในรอบแช่แข็ง เท่านั้น